วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

โครงการฝนหลวง

โครงการฝนหลวง

ความเป็นมา
         โครงการพระราชดำริฝนหลวง เป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร ที่ต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เพื่ออุปโภคบริโภค และเกษตรกรรม อันเนื่องมาจากภาวะแห้งแล้งซึ่งมีสาเหตุมาจาก ความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติ กล่าวคือ ฤดูฝนเริ่มต้นล่าเกินไป หรือหมดเร็วกว่าปกติหรือฝนทิ้งช่วงยาวในช่วงฤดูฝน จากพระราชกรณียกิจ ในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกร ในทุกภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอนับแต่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ จนตราบเท่าทุกวันนี้ ทรงพบเห็นว่าภาวะแห้งแล้ง ได้ทวีความถี่ และมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงยิ่งขึ้นตามลำดับ เพราะนอกจากความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติแล้ว การตัดไม้ทำลายป่า ยังเป็นสาเหตุให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้แก่ราษฎร ในทุกภาคของประเทศ ทำความเสียหายแก่เศรษฐกิจโดยรวมของชาติเป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี ตามเส้นทางที่เคยเสด็จพระราชดำเนิน ทั้งภาคพื้นดิน ทางอากาศยานดังกล่าว ทรงสังเกตเห็นว่ามีเมฆปริมาณมากปกคลุมท้องฟ้า แต่ไม่สามารถก่อรวมตัวกัน จนเกิดเป็นฝนได้ เป็นเหตุให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงระยะยาวทั้ง ๆ ที่เป็นช่วงฤดูฝน ทรงคิดคำนึงว่า น่าจะมีมาตรการทางวิทยาศาสตร์ ที่จะช่วยให้เมฆเหล่านั้นก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ ทรงเชื่อมั่นว่า ด้วยลักษณะของกาลอากาศ ภูมิอากาศ และภูมิประเทศของประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคเขตร้อน และอยู่ในอิทธิพลของฤดูมรสุมของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นฤดูฝน และเป็นฤดูเพาะปลูกประจำปีของประเทศไทย จะสามารถดัดแปรสภาพอากาศ ให้เกิดเป็นฝนตกได้ อย่างแน่นอน ตามที่ทรงเล่าไว้ใน RAINMAKING STORY จาก พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นต้นมา ทรงศึกษาค้นคว้า และวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการอุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ ซึ่งทรงรอบรู้ และเชี่ยวชาญ เป็นที่ยอมรับทั้งใน และต่างประเทศ จนทรงมั่นพระทัย จึงพระราชทานแนวคิดนี้แก่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยประดิษฐ์ทางด้านเกษตรวิศวกรรม ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขณะนั้น ในปีถัดมา และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้หาลู่ทางที่จะทำให้เกิดการทดลองปฏิบัติการในท้องฟ้าให้เป็นไปได้
          การทดลองในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก จนถึงปี พ.ศ.๒๕๑๒ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งหน่วยบิน ปราบศัตรูพืชกรมการข้าว และพร้อมที่จะให้การสนับสนุน ในการสนองพระราชประสงค์ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล จึงได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบว่า พร้อมที่จะดำเนินการ ตามพระราชประสงค์แล้ว ดังนั้นในปีเดียวกันนั้นเอง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑-๒ กรกฎาคม ๒๕๑๒ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นผู้อำนวยการโครงการ และหัวหน้าคณะปฏิบัติการทดลอง เป็นคนแรก และเลือกพื้นที่วนอุทยานเขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลองเป็นแห่งแรก โดยทดลองหยอดก้อนน้ำแข็งแห้ง (dry ice หรือ solid carbondioxide) ขนาดไม่เกิน ๑ ลูกบาศก์นิ้ว เข้าไปในยอดเมฆสูงไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ ฟุต ที่ลอยกระจัดกระจายอยู่เหนือพื้นที่ทดลองในขณะนั้น ทำให้กลุ่มเมฆ ทดลองเหล่านั้น มีการเปลี่ยนแปลงทางฟิสิกส์ของเมฆอย่างเห็นได้ชัดเจน เกิดการกลั่นรวมตัวกันหนาแน่น และก่อยอดสูงขึ้นเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ ในเวลาอันรวดเร็วแล้วเคลื่อนตัวตามทิศทางลม พ้นไปจากสายตา ไม่สามารถสังเกตได้ เนื่องจากยอดเขาบัง แต่จากการติดตามผลโดยการสำรวจทางภาคพื้นดิน และได้รับรายงานยืนยันด้วยวาจาจากราษฎรว่า เกิดฝนตกลงสู่พื้นที่ทดลองวนอุทยานเขาใหญ่ในที่สุด นับเป็นนิมิตหมายบ่งชี้ให้เห็นว่า การบังคับเมฆให้เกิดฝนเป็นสิ่งที่เป็นไปได้
วัตถุประสงค์
          โครงการฝนหลวง เกิดขึ้นจากพระราชดำริส่วนพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ ๒๔๙๕ เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ทรงรับทราบถึงความเดือดร้อน ทุกข์ยากของราษฎร และเกษตรกรที่ขาด แคลนน้ำ อุปโภค บริโภค และการเกษตร จึงได้มีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทาน โครงการพระราชดำริ "ฝนหลวง" ให้กับ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ไปดำเนินการ ซึ่งต่อมา ได้เกิดเป็นโครงการค้นคว้าทดลอง ปฏิบัติการฝนเทียมหรือฝนหลวงขึ้น ในสังกัด สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อปี ๒๕๑๒ ด้วยความสำเร็จของ โครงการ จึงได้ตราพระราชกฤษฎีกา ก่อตั้งสำนักงานปฏิบัติการฝนหลวง ขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๑๘ ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเป็นหน่วยงานรองรับโครงการ พระราชดำริ "ฝนหลวง" ต่อไป
          สำนักงานปฏิบัติการฝนหลวง ไม่สามารถขยายขอบเขตการให้บริการฝนหลวง แก่ประชาชนและเกษตรกรได้อย่างทั่วถึง และเพียงพอกับความต้องการใช้ประโยชน์ได้ เช่น ในฤดูแล้งปี พ.ศ.๒๕๓๐ ได้เกิดภาวะขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภคใน ๘ จังหวัด ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ จว.นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด กาฬสินธ์ ขอนแก่น มหาสารคาม และชัยภูมิ อย่างรุนแรง ได้ทราบถึงพระเนตร พระกรรณ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๓๐ จึงได้มีกระแสพระราชดำรัสกับผู้บัญชาการทหารบก ให้หาลู่ทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยเร็ว ด้วยเหตุนี้จึงได้เกิดโครงการน้ำพระราชหฤทัยจากในหลวง หรือโครงการอีสานเขียวขึ้น
          การทำฝนหลวงเป็นกรรมวิธีการเหนี่ยวนำน้ำจากฟ้า จะต้องให้เครื่องบิน ที่มีอัตราการ บรรทุกมากๆ บรรจุสารเคมีขึ้นไปโปรยในท้องฟ้า โดยดูจากความชื้นของจำนวนเมฆ และสภาพของทิศทางลมประกอบกัน ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดฝนคือ ความร้อนชื้น ปะทะความเย็น และมีแกนกลั่นตัวที่มีประสิทธิภาพ ในปริมาณที่เหมาะสมกล่าวคือ เมื่อมวลอากาศร้อนชื้น ที่ระดับผิวพื้นขึ้นสู่อากาศเบื้องบน อุณหภูมิของมวลอากาศ จะลดต่ำลงจนถึงความสูงที่ระดับหนึ่ง อุณหภูมิที่ลดต่ำลงนั้นมากพอ ก็จะทำให้ไอน้ำในมวลอากาศอิ่มตัว จะเกิดขบวนการกลั่นตัวเองของไอน้ำในมวลอากาศขึ้นบนแกนกลั่นตัว เกิดเป็นฝนตกลงมา ฉะนั้นสารเคมีที่ใช้จึงประกอบด้วยสูตรร้อน เพื่อใช้กระตุ้นเร่งเร้ากลไกการหมุนเวียนของบรรยากาศสูตรเย็น ใช้เพื่อกระตุ้นกลไกการรวมตัวของละอองเมฆ ให้โตขึ้นเป็นเม็ดฝน และสูตรที่ใช้เป็นแกนดูดซับความชื้น เพื่อใช้ กระตุ้นกลไก ระบบการกลั่นตัวให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
รายละเอียดโครงการ
          การทำฝนหลวงนี้มีขั้นตอน ยุ่งยากหลายประการ จึงต้องใช้บุคลากรหลายฝ่ายร่วมมือกัน จึงจะประสบความสำเร็จ ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่ต้องมีหลายหน่วยงานเข้าร่วมกัน สร้างสรรค์โครงการนี้ ให้เป็นฝันที่เป้นจริงของพี่น้องชาวอีสานในส่วนของฝนหลวงพิเศษ
โครงการฝนหลวงพิเศษ หากสามารถช่วยเหลือพี่น้องชาวอีสานจากภาวะแห้งแล้ง ถึงแม้จะมีการสร้างเขื่อนหรือ อ่างเก็บน้ำขนาดเล็กในบางส่วนของภูมิภาค แต่ก็ยังไม่ เพียงพอที่จะเก็บกักน้ำสำรับอุปโภค บริโภคและใช้ในการเกษตร โครงการนี้จึงสามารถ บรรเท่าความเดือดร้อนได้ เพราะสามารถที่จะเข้าไปปฏิบัติ ภารกิจในจุดต่างๆ ซึ่งเกิด ภาวะแห้งแล้งได้ แม้ฝนที่ตกในบางครั้ง อาจจะผิดเป้าหมายไปบ้าง เนื่องจาก ข้อผิดพลาดของสภาพลมฟ้าอากาศ หรือจากการคำนวน แต่ก็เป็น เพียงส่วนน้อย เมื่อเทียบกับผลสำเร็จซึ่งนับได้ว่าอยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจ
          จากที่กล่าวมาในข้างต้น สามารถพิสูจน์ได้ว่า กองทัพเรือไม่ได้มีเพียงหน้าที่ในการ ปกป้องน่านน้ำไทยเท่านั้น แต่ยังได้เข้าช่วยเหลือราษฎรในภูมิภาคต่างๆ ในหลาย โครงการที่ร่วมมือกับภาครัฐอื่นๆ เช่น โครงการดับไฟป่าที่ จว.เชียงใหม่ สามารถรักษา พื้นที่ป่าให้พ้นจากความเสียหายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งที่เพื่อรับใช้เบื้องพระยุคลบาท ในการช่วยเหลือราษฎรของพระองค์ท่าน ให้อยู่ดีกินดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ความรับผิดชอบของของทัพเรือที่มีต่อโครงการฝนหลวง
          กองทัพเรือได้ร่วมเข้าโครงการน้ำพระทัยจากในหลวงในส่วนของ ฝนหลวงพิเศษ มาตั้งแต่เริ่มต้น โดยผู้บัญชาการทหารเรือ มีคำสั่งให้ดำเนินการดัดแปลง บ.C-47 จำนวน ๒ ลำ เพื่อใช้ในการโปรยสารเสมีและทำการทดลองในช่วงแรก ตั้งแต่ ๑๕ เม.ย.-๓๐ ต.ค.พ.ศ.๒๕๓๐ รวม ๒๐๐ วัน ปรากฎว่าประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ และได้รับหน้าที่รับผิดชอบทำฝนหลวง ในพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยส่ง บ. C-47 ๑ ลำ ร่วมกับกรมตำรวจ ซึ่งส่ง บ.แบบปอร์ตเตอร์เข้าร่วมโครงการ จำนวน ๓ ลำ มีศูนย์ปฏิบัติการอยู่ที่สนามบินขอนแก่น ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เป็นหน้าที่รับผิดชอบของกองทัพอากาศ ในปี พ.ศ.๒๕๓๕ บ.C-47 ได้เลิกปฏิบัตภารกิจ เนื่องจากมีอายุการใช้งานมานาน และมีปัญหาด้านการซ่อมบำรุง เนื่องจากบริษัทผู้ผลิต เลิกสายการผลิตอะไหล่ กองการบินทหารเรือจึงได้จัด บ.ธก.๒ (N-24A) สังกัดฝูงบิน ๒๐๑ กองบิน ๒ ทดแทน โดยเริ่มปฏิบัติภารกิจตั้งแต่ ๑๖ มี.ค.๓๕ ต่อมาในฤดูแล้งปีเดียวกันเกิด ภาวะฝนทิ้งช่วง ทำให้ปริมาณน้ำเหนือเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนเจ้าพระยา อยู่ในระดับต่ำมาก เพื่อให้ภาวะวิกฤตนี้หมดสิ้นไป กองทัพเรือจึงได้เข้าร่วมแก้ไขปัญหานี้โดยส่ง บ.ธก.๒ อีก ๑ ลำเข้าร่วมปฏิบัติภารกิจที่ จว.พิษณุโลก ตั้งแต่ ๑๖ ก.ค.๓๕
ที่ตั้งโครงการ
          กองการบินทหารเรือ ต.พลา อ.บ้านฉาง จ.ระยอง 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น