ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดนำเสนอหุ่นยนต์ที่เรียกว่า "หุ่นยนต์นิ่ม" อย่างแท้จริงตัวแรก โดยจุดเด่นอยู่ที่การทำงานอัตโนมัติ ไร้สายควบคุม แถมยังไร้วงจรอิเล็กทรอนิกส์อีกด้วยหุ่นยนต์ตัวนี้มีชื่อว่า "ออกโตบอต" (octobot) ถือว่าเป็นหุ่นยนต์อัตโนมัติรุ่นใหม่ที่เกิดจากผลงานการสร้างสรรค์ของนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องพิมพ์สามมิติ วิศวกรรมเครื่องกลและระบบของไหลระดับไมโครโดยงานวิจัยได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Nature แล้ว"หุ่นยนต์นิ่ม" ถือว่าเป็นแนวคิดการสร้างหุ่นยนต์รูปแบบใหม่ให้ได้หุ่นยนต์ที่อ่อน แนวคิดนี้อาจจะเข้ามาเปลี่ยนวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักรได้ แต่ที่ผ่านมา นักวิจัยยังไม่สามารถสร้างหุ่นยนต์ที่เป็น "หุ่นยนต์นิ่ม" ได้จริงๆ เพราะยังถือว่าวงจรไฟฟ้าและวงจรควบคุม เช่น แบตเตอรี่ แผงวงจร ติดอยู่ ซึ่งถือว่าเป็นของแข็ง หรือแม้แต่หุ่นยนต์แบบอ่อนที่มีออกมาก็มักจะมีสายโยงเชื่อมเข้ากับวงจรไฟฟ้าที่แข็งส่วนอื่น ๆนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด นำโดยโรเบิร์ตวู้ดจึงได้รวบรวมนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญด้านระบบวิศวกรรมที่ออกแบบมาจากชีววิทยามาเพื่อสร้างหุ่นยนต์แบบใหม่นี้"วิสัยทัศน์ระยะยาวของงานวิจัยสาขาหุ่นยนต์นิ่มนี้คือการสร้างหุ่นยนต์ที่อ่อนทั้งตัวแต่ว่าการที่จะแทนที่ส่วนประกอบที่แข็งอย่างเช่นแบตเตอรี่และวงจรอิเล็กทรอนิกนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลยการรวมทุกอย่างเข้าด้วยกันยิ่งเป็นเรื่องยาก"วู้ดอธิบาย"งานวิจัยของเราบอกว่าเราสามารถผลิตองค์ประกอบพื้นฐานออกมาได้อย่างง่าย จากนั้นก็ประกอบขึ้นมาเป็นหุ่นยนต์นิ่มได้ ซึ่งหุ่นยนต์แบบนี้จะกลายเป็นรากฐานในการสร้างระบบที่ซับซ้อนต่อไปได้""เราใช้วิธีการประกอบแบบไฮบริดเริ่มจากการพิมพ์ชิ้นส่วนแต่ละชิ้นขึ้นมาจากเครื่องพิมพ์สามมิติ เพื่อสร้างขึ้นมาเป็นร่างกาย เป็นที่เก็บของเหลว เก็บพลังงานของหุ่นยนต์ ออกโตบอทเป็นหุ่นยนต์เราทำออกมาให้เป็นรูปเป็นร่าง เพื่อบ่งบอกว่าวิธีการออกแบบ การประกอบของเราเพื่อใส่ความอัตโนมัติเข้าไปนั้น เป็นไปได้จริง"ทั้งนี้ ตัวหมึกนั้นเป็นแรงบันดาลใจสำหรับงานวิจัยออกแบบซอฟต์โรบอทมานานแล้ว โดยสิ่งมีชีวิตชนิดนี้มีทั้งความแข็งแรงและความคล่องแคล่ว ทั้ง ๆ ที่ไม่มีโครงสร้างกระดูกอยู่ภายในเลยส่วนออกโตบอทของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดนี้ใช้กำลังอัดของอากาศเป็นหลัก โดยได้รับพลังงานจากแก๊สที่มีความดัน ปฏิกิริยาภายในหุ่นยนต์จะเปลี่ยนของเหลว (hydrogen peroxide) ไปเป็นแก๊สที่มีปริมาณมากขึ้น และแก๊สก็จะไหลไปที่แขนของออกโตบอททำให้พองคล้ายกับหุ่นยนต์"แหล่งพลังงานของซอฟต์โรบอทส่วนใหญ่มักทำมาจากส่วนประกอบที่แข็งแต่สิ่งที่น่าทึ่งสำหรับ hydrogen peroxide นั้นคือว่า ปฏิกิริยาง่ายๆระหว่างสารเคมีกับตัวเร่งปฏิกิริยา ซึ่งก็คือ แพลตินัม ทำให้เราแทนที่แหล่งพลังงานที่เป็นของแข็งได้ในที่สุด"ในการควบคุมปฏิกิริยานั้น ทีมวิจัยใช้วงจรตรรกะที่ทำจากการไหลของของเหลวระดับไมโคร วงจรนี้จะควบคุมว่าเมื่อไหร่ hydrogen peroxide จะย่อยสลายไปเป็นแก๊สในออกโตบอท"ระบบทั้งหมดจึงถือว่าประกอบง่ายมาก ใช้วิธีการประกอบแบบ การพิมพ์หิน การปั้น และการพิมพ์แบบสามมิติ ซึ่งเราสามารถประกอบได้อย่างรวดเร็ว" ไรอัน ทรูบี้ นักวิจัยร่วมเผยซึ่งความง่ายในขั้นแรกนี้จะช่วยปูทางไปสู่การออกแบบระบบที่ซับซ้อนในขั้นต่อไป และทีมวิจัยที่ฮาร์วาร์ดก็หวังว่าต่อไป ออกโตบอทจะสามารถคลาน ว่ายน้ำ และมีอันตรกิริยากับสิ่งแวดล้อมได้"งานวิจัยนี้เป็นการพิสูจน์แนวคิด เราหวังว่าวิธีการสร้างเป็นซอฟต์โรบอทของเราจะช่วยจุดประกายนักวิจัยหุ่นยนต์นักวิทยาศาสตร์วัสดุและนักวิจัยระดับแนวหน้าได้"อ้างอิง: Harvard John A. Paulson School of Engineering and Applied Sciences. (2016, August 24). The first autonomous, entirely soft robot: Powered by a chemical reaction controlled by microfluidics, 3-D-printed 'octobot' has no electronics. ScienceDaily. Retrieved August 31, 2016 from www.sciencedaily.com/releases/2016/08/160824135032.htm